วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ          การบริการ / การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษา ที่ได้กำหนดไว้ การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (จุลสาร สมศ. ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2544) 

        ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 ประกอบด้วย 2 ระบบคือ
        1.  ระบบการประกันคุณภาพภายในและ
        2.  ระบบการประกันคุณภาพภายนอก

        ระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายถึง ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด  ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการ ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้
หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มี 3 ประการ คือ
             1.  จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุง คุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดย เป้าหมายสำคัญอยู่ที่               การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
             2.  การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายการประกันคุณภาพภายใน ต้องทำให้           การ ประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติ ของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความ โปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน
             3.  การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน            เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด เป้าหมาย วางแผน ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้ สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของ ผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ

        การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันการประเมินคุณภาพภายนอกจะ นำไปสู่ การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง




แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
        การประเมินภายนอกของ สมศ. เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบ กัลยาณมิตรประเมินโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
             1.  เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดาเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
             2.  เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
             3.  เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
             4.  เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
             5.  เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงาน               ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
         การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ดังต่อไปนี้
             1.  เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
             2.  เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
             3.  สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจ                ในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและ บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
             4.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของ สถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการ จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน         ผู้รับผิดชอบ คือ สถานศึกษา / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  
                                      ประเมินทุกปีการศึกษา                          
การประกันคุณภาพภายนอก       ผู้รับผิดชอบ คือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
                                            การศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)
                                      ประเมิน อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้ง
                                                      สุดท้าย







การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 - 2563) กำหนดแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ
การพัฒนามาตรฐานการศึกษา มีแนวคิดว่าต้องเป็นมาตรฐานที่สถานศึกษาปฏิบัติได้จริง ประเมิน              ได้จริง กระชับ และจำนวนน้อย แต่สามารถสะท้อนบริบทของสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาได้จริง ข้อมูล           ที่ได้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับหน่วยงานต้นสังกัด และระดับชาติ ดังนั้น การกำหนดมาตรฐานการศึกษาจึงเน้นที่คุณภาพผู้เรียน คุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา และคุณภาพครู มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ และข้อกำหนด                ในกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
มาตรฐานการศึกษาในแต่ละระดับ กำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพของมาตรฐานมี 5 ระดับ คือ ระดับกำลังพัฒนา ระดับปานกลาง ระดับดี ระดับดีเลิศ และระดับยอดเยี่ยม รายละเอียดของมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ ประเด็นพิจารณา และระดับคุณภาพ ดังนี้
มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 มีจำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่
              มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
              มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
              มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
         มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2561 มีจานวน 3 มาตรฐาน ได้แก่
             มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
                 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
                 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
             มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
             มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 - 2563) การศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          หลักการและแนวคิดสำคัญ
             การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 2563) มีหลักการสำคัญ 2 ประการ คือ 
                 1)  การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความเชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด ที่จะต้องรับผิดชอบให้บรรลุถึงเป้าหมายในการจัดการศึกษาและร่วมรับผิดชอบ (Accountability) ต่อผลการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้น
                 2)  การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความท้าทายและช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาสู่สากล ให้เป็นไปตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศบรรลุเป้าหมาย                      ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
จากหลักการสำคัญในการพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก จึงนำมาสู่แนวคิดสำคัญ 4 ประการ คือ
             1.  ใช้กลไกการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ
             2.  เน้นการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและต้นสังกัด รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และมีความพร้อมในการแข่งขันในระดับสากล
             3.  ให้ความสำคัญกับการประเมินที่มุ่งสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ             ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต และสถานศึกษามีขีดสมรรถนะสูง สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
             4.  เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสร้างความโดดเด่นเฉพาะทาง หรือเป็นต้นแบบในการพัฒนาในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 - 2563) ได้กำหนดนิยามศัพท์เฉพาะไว้ ดังนี้
             ความเหมาะสม เป็นไปได้ (Propriety / Feasibility) หมายถึง การกำหนดเป้าหมาย/เกณฑ์ ความสำเร็จของผู้เรียนมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ประหยัด และคุ้มค่า
             ความเป็นระบบ (Systematic) หมายถึง กระบวนการดำเนินงานด้านการบริหารและการจัด         การด้านการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากการคิดที่เป็นกระบวนการ โดยพิจารณาจากตัวอย่าง เช่น กระบวนการ        5W1H ว่าใคร (Who) คือ ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง, ทำอะไร (What) คือ เราจะทำอะไร มีใครทำอะไรบ้าง, ที่ไหน (Where) คือ สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน, เมื่อใด (When) ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์นั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด, ทำไม (Why) คือสิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น และ อย่างไร (How) คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง หรืออาจจะเป็น กระบวนการ PDCA คือ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) และ               การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม (Act) เป็นต้น
             ความเชื่อถือได้ (Validity / Credibility) หมายถึง กระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษา           ที่เกิดจากผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้มาจากการใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย ใช้หลักฐานหรือสารสนเทศเชิงประจักษ์ หรือมีข้อมูลจากหลายแหล่งในการตัดสิน                ผลการดำเนินงาน ซึ่งรวมทั้งข้อมูลสารสนเทศหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลที่ง่ายแก่         การตรวจสอบและข้อมูลที่อาจไม่ได้อยู่ในระบบฐานข้อมูล แต่เกิดขึ้นตามสภาพจริง โดยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในด้านนั้น ๆ เมื่อตรวจสอบจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีความตรงตามสภาพจริง เหมาะสม ชัดเจน เป็นที่ยอมรับได้
             ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นของการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายทำกำหนดไว้ อันเป็นผลที่เกิดต่อผู้เรียน ต่อโรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็ก ต่อวงวิชาการ ซึ่งผลการดำเนินงานมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี
                   นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง แนวคิดหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนา ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ประบวนการ หรือองค์กร อย่างสิ้นเชิง หรืออย่างเห็นได้ชัด เป็นการพัฒนาต่อยอด เพิ่มมูลค่า มีเป้าหมายในเชิงบวก ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา คือ มีความคิดสร้างสรรค์ (C- Creative), มีความใหม่ในบริบทนั้น ๆ (N- New), มีคุณค่า มีประโยชน์ (V-Value-Added), และปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม (A-Adaptive)
                   เป็นแบบอย่างที่ดี (Best-Practice) หมายถึง รูปแบบวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพ         มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปรูปแบบวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ มีร่อยรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น