การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึง การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ การบริการ / การจัดการ
เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ
ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน
และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ
และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษา ที่ได้กำหนดไว้
การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ "ป้องกัน"
ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (จุลสาร สมศ.
ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2544)
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 ประกอบด้วย 2
ระบบคือ
1. ระบบการประกันคุณภาพภายในและ
2. ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายถึง
ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด
ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการ
ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้
หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
มี 3 ประการ คือ
1. จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุง
คุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดย
เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
2. การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายการประกันคุณภาพภายใน
ต้องทำให้ การ
ประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของ
บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติ
ของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน
ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความ
โปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน
3. การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง
เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา
หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด เป้าหมาย วางแผน
ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้
สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ
เป็นไปตามความต้องการของ ผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ
การประเมินคุณภาพภายนอก คือ
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
ผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระและเป็นกลาง
ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันการประเมินคุณภาพภายนอกจะ นำไปสู่ การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง
เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง